ต้นตะโกนา
ต้นตะโกนา
ชื่อสามัญ : Ebony
ชื่อท้องถิ่น : ตะโกนา, โก
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Diospyros rhodocalyx
ตระกูล(วงศ์) : KurzEBENACEAE
ชื่ออื่น : ตะโกนา, โก, นมงัว, มะโก, มะถ่าน, ไฟผี, พระยาช้างดำ
ตะโก เป็นต้นไม้ไทยแท้ ๆ เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ได้รับการตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์ Kurz มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros rhodocalyx Kurz. ขึ้นกระจายตามป่าเพญจพรรณหรือป่าเหล่า (ป่าเพิ่งฟื้นตัว) ทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 40-300 เมตร ผิวเปลือกของตะโกจะแตก ๆ มีสีดำแต่ลูกตะโกมีประโยชน์มากกว่านั้นเพราะนอกจากตอนสุกจะกินได้แล้ว (ถึงไม่อร่อยก็เถอะ) ลูกอ่อนสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้า เนื่องจากมีสารฝาดชื่อแทนนินอยู่สูง ช่วยทำให้สีติดเนื้อผ้าแน่น ทนทานตะโกยังเป็นไม้เนื้อเหนียวจึงนิยมใช้เป็นไม้ดัด ตะโกดัด เป็นไม้ที่ใช้ตกแต่งบ้านเรือนมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ในแง่ของคุณค่าของการเป็นยาสมุนไพร ตะโกเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้คนมีอายุยืนยาว ชาวบ้านทั่วไปจะใช้เปลือกต้นตะโก ผสมเปลือกต้นทิ้งถ่อน หัวแห้วหมู เมล็ดข่อย เม็ดพริกไทยแห้ง เถาบอระเพ็ดอย่างละเท่ากันดองเหล้ากิน หรือต้มกินก็ได้ เปลือกต้น ตะโกยังใช้ต้มกับเกลืออมแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทนทาน เปลือกผล เผาเป็นถ่าน แช่น้ำกินขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รากต้นตะโก ต้มน้ำกินแก้โรคเหน็บชา โรคกษัยไตพิการ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน
ตะโก เป็นต้นไม้ไทยแท้ ๆ เป็นพรรณไม้ที่พบครั้งแรกในประเทศไทย ได้รับการตั้งชื่อโดย ศาสตราจารย์ Kurz มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Diospyros rhodocalyx Kurz. ขึ้นกระจายตามป่าเพญจพรรณหรือป่าเหล่า (ป่าเพิ่งฟื้นตัว) ทั่วไป ที่สูงจากระดับน้ำทะเล 40-300 เมตร ผิวเปลือกของตะโกจะแตก ๆ มีสีดำแต่ลูกตะโกมีประโยชน์มากกว่านั้นเพราะนอกจากตอนสุกจะกินได้แล้ว (ถึงไม่อร่อยก็เถอะ) ลูกอ่อนสามารถใช้เป็นสีย้อมผ้า เนื่องจากมีสารฝาดชื่อแทนนินอยู่สูง ช่วยทำให้สีติดเนื้อผ้าแน่น ทนทานตะโกยังเป็นไม้เนื้อเหนียวจึงนิยมใช้เป็นไม้ดัด ตะโกดัด เป็นไม้ที่ใช้ตกแต่งบ้านเรือนมาตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์ ในแง่ของคุณค่าของการเป็นยาสมุนไพร ตะโกเป็นยาอายุวัฒนะ ทำให้คนมีอายุยืนยาว ชาวบ้านทั่วไปจะใช้เปลือกต้นตะโก ผสมเปลือกต้นทิ้งถ่อน หัวแห้วหมู เมล็ดข่อย เม็ดพริกไทยแห้ง เถาบอระเพ็ดอย่างละเท่ากันดองเหล้ากิน หรือต้มกินก็ได้ เปลือกต้น ตะโกยังใช้ต้มกับเกลืออมแก้รำมะนาด แก้ปวดฟัน ทำให้ฟันทนทาน เปลือกผล เผาเป็นถ่าน แช่น้ำกินขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รากต้นตะโก ต้มน้ำกินแก้โรคเหน็บชา โรคกษัยไตพิการ น้ำเหลืองเสีย แก้ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย ช่วยเจริญอาหาร แก้ร้อนใน
ลักษณะของตะโกนา
ต้น: ต้นตะโกนาจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก รูปทรงพุ่ม มีความสูงของต้นประมาณ 8-15 เมตร เปลือกลำต้นเป็นสีดำแตกเป็นร่องลึกเป็นสะเก็ดหนา
ที่มา https://goo.gl/Xf7GVA
ใบ : ใบเดี่ยว รูปไข่กลับ กว้าง 2-7 เซนติเมตรเล็ก ยาว 5-12 เซนติเมตร โคนใบสอบปลายโค้งมน เรียงสลับ
ที่มา https://goo.gl/mb7JJa
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นแบบแยกเพศและอยู่ต่างต้นกัน ดอกเพศผู้จะออกเป็นช่อเล็ก ๆ ตามกิ่งหรือตามง่ามใบ ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 3 ดอก ส่วนดอกเพศเมียจะออกตามซอกใบ ออกดอกเดี่ยวๆ กลีบเลี้ยงและกลีบดอกจะเหมือนกับดอกเพศผู้แต่มีขนาดใหญ่กว่า

ที่มา https://goo.gl/zXZRdb
ผล : ผลสด ทรงกลม มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบติดอยู่ ผิวมีขนละเอียด มีขนาด 2-3 เซนติเมตร เมื่อสุกสีส้มแดง ผลมีลักษณะคล้ายผลมังคุดหรือลูกพลับ เมื่อผลสุกรับประทานได้รสหวานอมฝาด
ที่มา https://goo.gl/bsQ9q8


ประโยชน์
- ผลอ่อน ใช้ย้อมผ้า แห อวน ผลสุก รับประทานได้มีรสหวานอมฝาด
- เปลือกต้น แก่น บำรุงธาตุ ขับระดูขาว ต้มกับเกลือรักษาเหงือกบวม แก้ปวดฟัน
- ผล แก้ท้องร่วง คลื่นไส้ ขับพยาธิ แก้ฝ้ ปวดบวม
- เปลือกผล เผาเป็นถ่นแช่น้ำกินขับปัสสาวะ
การขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด แต่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมเนื่องจากโตช้า การตอนกิ่ง หรือใช้วิธีขุดล้อมมาจากธรรมชาติก็ได้
การปลูก
- หากปลูกลงดิน ขนาดหลุมปลูก 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ดินร่วน อัตรา 1:2 ผสมดินปลูก
- หากปลูกใส่กระถาง ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12–24 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก:ดิน ร่วนอัตรา 1:1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถางทุกๆ 2–3 ปี หรือตามการเจริญเติบโตของต้นตะโกที่ปลูก
https://sites.google.com/site/biofantasticbabyone/home/xanacakr-phuch/tn-tako-na
ไม่มีความคิดเห็น